Home > ความสัมพันธ์จีน-ไทย > ภาพรวมความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์จีน-ไทยโดยสังเขป
2024-01-08 16:43

1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง

วันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1975 จีนและไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศพัฒนาด้วยดีและอย่างมั่นคง

เดือนสิงหาคม ปี 2001 รัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ออก “แถลงการณ์ร่วม” และบรรลุฉันทามติในการส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์จีน-ไทย เดือนเมษายน ปี 2012 ทั้งสองประเทศได้พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน เดือนตุลาคม ปี 2013 รัฐบาลทั้งสองประเทศได้แถลงข่าวร่วม ว่าด้วยแผนระยะยาวในการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย — จีน” เดือนกันยายน ปี 2017 ได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการ ร่วมกันส่งเสริมการสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เดือนพฤศจิกายน ปี 2019 ออก “แถลงข่าวร่วมระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทย” เดือนพฤศจิกายน ปี 2022 ออก “แถลงการณ์ร่วมระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น” และลงนามใน “แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมการสร้างหนึ่งแถบหนึ่งเส้น” เดือนตุลาคม ปี 2023 ทั้งสองประเทศได้ออก “แถลงข่าวร่วมระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทย”

ผู้นำระดับสูงของทั้งสองประเทศมีการเยี่ยมเยือนอย่างใกล้ชิด โดยประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน (1999) ท่าน หลี่ เผิง ประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน (1999, 2002) รองประธานาธิบดีหู จิ่นเทา (2000) นายกรัฐมนตรีจู หรงจี (2001) ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา (2003) นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ( 2003, 2009, 2012) ท่าน อู๋ ปังกั๋ว ประธานคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน (2010) รองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (2011) ท่านเจี่ย ชิ่งหลิน ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติจีน (2012) นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง (2013, 2014, 2019) ท่านหยู เจิ้งเซิง ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติจีน (2015) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง (2022) และผู้นำจีนคนอื่นๆ ได้มาเยือนประเทศไทยหรือเข้าร่วมการประชุมในประเทศไทย ขณะที่ในปี 2000 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนในนามของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ   มกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ (ในขณะนั้น) สมเด็จพระเทพฯ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา สมเด็จเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และเชื้อพระวงศ์อื่นๆ ได้ เสด็จเยือนประเทศจีนหลายครั้ง นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภาและผู้นำกองทัพหลายท่านก็เคยเยือนประเทศจีนด้วย ในเดือนกรกฎาคม ปี 2020 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงและนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนได้แลกเปลี่ยนจดหมายกับนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาและนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย เดือนตุลาคม นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศจีนเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เดือนกรกฎาคม ปี 2021 นายหลี จ้านซู ประธานคณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติจีนได้จัดวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศจีนเข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง เดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเดินทางเยือนกรุงเทพฯ ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เดือนตุลาคม นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินเข้าร่วมการประชุมสุดยอดความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ครั้งที่ 3 และเยือนจีนอย่างเป็นทางการ เดือนธันวาคม นายหวัง อี้ กรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐมนตรีต่างประเทศจีนได้พบกับนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยซึ่งเดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 8 ณ กรุงปักกิ่ง

ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งสถานทูตซึ่งกันและกัน ประเทศจีนมีสถานกงสุลใหญ่ในเชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น และมีสำนักงานกงสุลในภูเก็ต ฮ่องกงมีสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าในกรุงเทพฯ ส่วนประเทศไทยมีสถานกงสุลใหญ่อยู่ที่กวางโจว คุนหมิง เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง เฉิงตู เซี่ยเหมิน  ซีอาน หนานหนิง และชิงเต่า

2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า

จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย และไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของจีนในกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี 2022 ปริมาณการค้าทวิภาคีจะอยู่ที่ 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเป็นการส่งออกของจีน 78,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี และเป็นการนำเข้า 56,220 ล้านดอลลาร์ ลดลง 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม ปี 2023 ปริมาณการค้าทวิภาคีอยู่ที่ 105,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022 การลงทุนโดยตรงที่ไม่ใช่ทางการเงินของจีนในประเทศไทยมีมูลค่า 1,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี  ณ สิ้นปี 2022 บริษัทจีนได้ลงนามในสัญญาเหมาก่อสร้างมูลค่ารวม 49,710 ล้านดอลลาร์สหรัฐในประเทศไทย และมีมูลค่าการขายทางธุรกิจทั้งหมด 32,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 1985 ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเศรษฐกิจและการค้าระดับรัฐมนตรี และยกสถานะเป็นระดับรองนายกรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน ปี 2003  และมีการประชุมแล้ว 6 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม ปี 2004 นายอู๋ อี๋ รองนายกรัฐมนตรีจีนและพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีไทยได้ร่วมกันเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งแรกในกรุงปักกิ่ง ในเดือนธันวาคม ปี 2016 นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐของจีนและนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของไทยได้ร่วมกันเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 5 ในกรุงปักกิ่ง ในเดือนสิงหาคม ปี 2018 นายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐจีนและนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีของไทยได้ร่วมกันเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 6 ที่กรุงเทพฯ

ทั้งสองฝ่ายยังได้ลงนามใน “ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน” (ปี 1985) “ข้อตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร” (ปี 1985) “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า และเทคโนโลยี” (ปี 1997) และ “ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา” (ปี 2011-2014) เป็นต้น ในเดือนตุลาคม ปี 2003 ทั้งสองประเทศได้ดำเนินมาตรการปลอดภาษีสำหรับสินค้าผักและผลไม้ภายใต้กรอบของเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 ประเทศไทยยอมรับสถานะเศรษฐกิจตลาดเต็มรูปแบบของจีน ในเดือนมิถุนายน ปี 2009 ทั้งสองประเทศได้ลงนาม “ข้อตกลงเพื่อขยายและกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าทวิภาคี” ในเดือนเมษายน ปี 2012 ทั้งสองประเทศได้ลงนามใน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ” ในเดือนธันวาคม ปี 2014 ธนาคารกลางของทั้งสองประเทศได้ลงนาม “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทย” และต่ออายุ “ข้อตกลงด้านการแลกเปลี่ยนสกุลเงินท้องถิ่น”

3. การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในด้านอื่นๆ

การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพ ด้านตุลาการ การทหาร และสาขาอื่นๆ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปี 1978) ข้อตกลงความร่วมมือการท่องเที่ยว (ปี 1993) สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ปี 1993) ข้อตกลงความร่วมมือด้านตุลาการและอนุญาโตตุลาการทางแพ่งและพาณิชย์ (ปี 1994) ข้อตกลงความร่วมมือทางวัฒนธรรม (ปี 2001) สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางอาญา (ปี 2003) ความตกลงว่าด้วยการรับรองคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาระหว่างกัน (ปี 2007) ข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษา (ปี 2009) เป็นต้น ในปี 2001 กระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศยังได้จัดตั้งกลไกการปรึกษาหารือด้านกลาโหมและความมั่นคงประจำปีขึ้นด้วย

ทั้งสองฝ่ายได้ก่อตั้งสมาคมมิตรภาพไทย-จีน (ปี 1976) และสมาคมมิตรภาพจีน-ไทย (ปี 1987) ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งบ้านพี่เมืองน้องแล้วจำนวน 41 คู่


Suggest To A Friend:   
Print